เคล็ดลับดูแลน้องหมา

4 โรคต้องระวังที่มาพร้อมกับฝน

เมื่อหน้าฝนมาถึงก็ทำให้เรารู้สึกเย็นสบายอยู่ไม่น้อย แต่มันก็มาพร้อมกับโรคภัยต่าง ๆ มากมาย จึงทำให้เราต้องดูแลคอยรักษาสุขภาพกันยกใหญ่ แต่โรคเหล่านี้ไม่ได้เกิดกับคนเพียงอย่างเดียวนะ เพราะมันยังสามารถเกิดกับน้องหมาของเราได้เช่นกัน ซึ่งบางโรคก็เป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิตเลยก็ว่าได้ น่ากลัวใช่มั้ยล่ะ? เพื่อการนี้เราจึงอยากให้เจ้าของน้องหมามารู้จักกับ 4 โรคต้องระวังที่มากับฝน เพื่อให้คุณเจ้าของน้องหมารู้ทันโรค และสามารถรักษาอาการต่าง ๆ ได้ทันท่วงทีครับ

1. โรคฉี่หนู
เชื้อโรคตัวนี้จะอยู่ตามดิน น้ำท่วมขังและฉี่ของสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค ถ้าน้องหมาตัวไหนได้ไปเดินเล่นหรือกินน้ำสกปรกนอกบ้าน เชื้อโรคก็เข้าสามารถเข้าสู่ทางผิวหนัง เยื่อเมือกที่ตา จมูก และปากได้อย่างง่ายดาย ทำให้น้องหมามีอาการซึม เบื่ออาหาร มีไข้สูง ตัวเหลือง ตาแดง ไตวายและอาการอื่น ๆ จนถึงขั้นทำให้น้องช็อคจนเสียชีวิตได้ ยิ่งถ้าน้องหมาตัวไหนกำลังตั้งท้องอยู่ ก็มีโอกาสแท้งลูกได้เลย ที่สำคัญที่สุดโรคนี้ยังสามารถติดต่อสู่คนได้อีกด้วย! ทางที่ดีกันไว้ดีกว่าแก้ครับ ให้คุณเจ้าของหมั่นรักษาความสะอาดน้องหมาและที่อยู่อยู่เสมอ หลีกเลี่ยงไม่ให้น้องไปเล่นบริเวณที่สกปรกหรือมีน้ำท่วมจะเป็นการดีที่สุดครับ

2. โรคผิวหนังอักเสบจากการติดเชื้อ
เมื่อหน้าฝนมากับความเปียกชื้น เจ้าความเปียกชื้นนี่แหละตัวดีที่เป็นสาเหตุให้น้องหมาป่วยเป็นโรคผิวหนังได้ ซึ่งเกิดมาจากแบคทีเรีย เชื้อยีสต์และเชื้อราจำนวนมาก การที่น้องหมาไปนอนเล่นนอกบ้านโดนฝนหรือนอนบนพื้นวัสดุที่กักเก็บความชื้นก็ทำให้ได้รับเชื้อพวกนี้มาได้ง่าย ๆ ซึ่งมันจะทำให้น้องหมามีอาการคัน ผื่นแดง ตุ่มหนอง ขนร่วง และมีกลิ่นตัว โรคนี้อาจต้องใช้เวลารักษานานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน ๆ และยังมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นได้อีก แพทย์อาจแนะนำการรักษาโดยกินยา ยาทาและแชมพูที่อ่อนโยนต่อผิวหนังของน้องหมาครับ

3. โรคระบบทางเดินหายใจ
ช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงปล่อย เชื้อโรคบางตัวที่มากับความเชื้อนั้นก็สามารถเจริญเติบโตหรือแพร่กระจายในสภาพอากาศเช่นนี้ได้เป็นอย่างดี โรคระบบทางเดินหางใจที่พบบ่อยในน้องหมา ได้แก่ โรคหวัดและโรคหลอดลมอักเสบจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ทำให้น้องหมามีอาการไอ มีเสมหะ ขี้ตาเยอะ มีน้ำมูก ปอดบวม หายใจหอบ หายใจลำบากและมีแนวโน้มที่ระบบหายใจล้มเหลวจนเสียชีวิตได้ ทางที่ดีคุณเจ้าของควรให้น้องหมาน้องพักในที่อบอุ่น ไม่อับชื้นหรือตากลมตากแอร์ เดิมทีอาการเบื้องต้นสามารถรักษาเองได้ แต่หากรุนแรงควรพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

4. โรคพยาธิหนอนหัวใจ
โรคสุดท้ายที่ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะเกิดจากน้ำท่วมขังนั่นเอง เจ้าโรคนี้เกิดจากยุงซึ่งเป็นพาหะตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจ เริ่มแรกมันจะไปกัดโดนเลือดน้องหมาที่เป็นโรคแล้วและแพร่เชื้อไปยังน้องหมาตัวอื่น ๆ ต่อ ซึ่งตัวเต็มวัยสามารถอาศัยอยู่ในหัวใจน้องหมาได้นานถึง 5-7 ปีเลยทีเดียวแถมยังสามารถปล่อยตัวอ่อนออกสู่กระแสเลือดได้อีก 3-6 ปี โรคนี้ทำให้น้องหมามีอาการไอ หายใจหอบ ปอดอักเสบ หัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้ ดังนั้นเขาจึงมีการฉีดวัคซีนพยาธิหนอนหัวใจเพื่อป้องกันสำหรับการรักษาจะต้องดูระยะการติดเชื้อและสภาพร่างกายของน้องครับ


สอบถามรายละเอียดผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม คลิก:
http://bit.ly/2RS97BG

เรื่องที่คุณน่าจะสนใจ

VET TALK คุยเรื่องน้องหมา ประสาคุณหมอ EP.5 เสียงแปลกๆ ยามค่ำคืน ทำไมน้องหมาไม่ยอมนอน!?!
คุยเรื่องน้องหมา ประสาคุณหมอ
VET TALK คุยเรื่องน้องหมา ประสาคุณหมอ EP.5 เสียงแปลกๆ ยามค่ำคืน ทำไมน้องหมาไม่ยอมนอน!?!
เสียงก๊อกแก๊กตอนกลางดึกที่ไม่ได้เกิดจากสิ่งลี้ลับ แต่กลับมาจากน้องหมา! เคยสงสัยไหมทำไมน้องหมาไม่ยอมนอน?
3 เหตุผล ทำไม Spectra for dog จึงออกแบบมาสำหรับให้เดือนละครั้ง
เคล็ดลับดูแลน้องหมา
3 เหตุผล ทำไม Spectra for dog จึงออกแบบมาสำหรับให้เดือนละครั้ง
เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมจึงต้องให้น้องหมากินยาป้องกันปรสิต Spectra for dog เป็นประจำทุกเดือน เราสามารถให้เดือนละ 2 ครั้ง หรือให้เดือนเว้นเดือนได้หรือไม่ วันนี้จะมาไขข้อข้องใจ ด้วยเหตุผล 3 ข้อง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
รวมมิตรอาหารอันตรายต่อสุขภาพที่น้องหมาไม่ควรกิน
เคล็ดลับดูแลน้องหมา
รวมมิตรอาหารอันตรายต่อสุขภาพที่น้องหมาไม่ควรกิน
เนื่องจากร่างกายของน้องหมาและคนเรามีความแตกต่างกัน การย่อย ดูดซึม นำสารอาหารไปใช้ รวมถึงการกำจัดของเสียก็มีความแตกต่างกันอีกด้วย
VET TALK คุยเรื่องน้องหมา ประสาคุณหมอ EP.3 น้องมาอ้อนตอนกินข้าว แอบให้น้องกินดีมั้ยนะ!?
คุยเรื่องน้องหมา ประสาคุณหมอ
VET TALK คุยเรื่องน้องหมา ประสาคุณหมอ EP.3 น้องมาอ้อนตอนกินข้าว แอบให้น้องกินดีมั้ยนะ!?
เมนูสุดอร่อยของเรา เอาให้น้องหมากินได้ไหมนะ? เพราะเห็นสายตาอ้อนๆ รู้สึกใจบางทุกที คุณหมอเพชร จากเพจ Petpets by Dr.PETCH มีคำตอบให้ในคลิปนี้แล้ว! เรื่องนี้แอบมีเอี่ยวกับเจ้าปรสิตตัวร้ายด้วยนะ จะเป็นไงมาไง ไปดูกันเลย
คัดลอก URL แล้ว