ไรขี้เรื้อนแห้งเพศเมียมีขนาดเล็กมาก ประมาณ 0.25-0.35 มิลลิเมตรเท่านั้น เพศผู้มีขนาดประมาณ 2 ใน 3 ของเพศเมีย ซึ่งสามารถมองเห็นผ่านทางกล้องจุลทรรศน์ โดยไรขี้เรื้อนแห้งจะอยู่ในโพรงใต้ผิวหนัง และทำ การวางไข่ในนี้อีกด้วย ไข่ของไรขี้เรื้อนจะฟักออกมาโดยใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ และไรที่ฟักออกมาก็จะ กินเซลล์ผิวหนังและของเหลวต่าง ๆ จากตัวน้องหมา
การติดต่อมักเกิดขึ้นโดยการสัมผัสกันของน้องหมาที่มีไรขี้เรื้อนและไม่ได้ป้องกัน โดยไรขี้เรื้อนจะหาบริเวณ ผิวหนังที่บาง เพื่อง่ายในการขุดโพรงผิวหนัง ซึ่งมักจะเป็นบริเวณขอบใบหู เท้า ข้อเท้า และข้อศอก ปัญหา ของไรขี้เรื้อนแห้งก็คือ การทำให้เกิดการคันอย่างรุนแรง ซึ่งในบางช่วงจะคันมากขึ้นเป็นพิเศษ ประกอบกับ ทำให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อน เช่น เชื้อแบคทีเรีย หรือยีสต์ได้ หากเป็นโรคนี้นานยังทำให้ผิวหนังหนาตัว ขึ้นอีกด้วย สิ่งสำคัญคือหากทำการป้องกันหรือรักษาจะต้องทำพร้อมกันทุกตัวในบ้าน