หมัด
แหล่งอาศัย : พบได้ในสิ่งแวดล้อมบริเวณที่สุนัขใช้ชีวิต ทั้งนอกและในบ้าน โดยมีทั้งตัวเต็มวัย ไข่ ตัวอ่อน
พบได้ : ตามตัวสุนัขโดยดูดเลือดสุนัขเป็นอาหาร
ติดสุนัขโดย : หมัดตัวเต็มวัยจะกระโดดขึ้นบนตัวสุนัข
ผลร้ายกับสุนัขและเจ้าของ : ทำให้ผิวหนังระคายเคือง คัน และสามารถกัดคนทำให้เกิดการแพ้ได้
หมัด เป็นปัญหาที่พบบ่อยในน้องหมาและน้องแมว แต่ชนิดที่พบได้บ่อยในน้องหมา คือ Ctenocephalides canis และ Ctenocephalides felis มีลักษณะตัวเล็ก สีเข้มเป็นสีน้ำตาลถึงดำ ตัวแบนด้านข้าง ขนาด ประมาณ 1-2.5 มิลลิเมตร เคลื่อนที่เร็ว กระโดดได้สูง ตัวเมียที่โตเต็มวัยจะวางไข่บนตัวน้องหมา วันละ 40-50 ฟอง เพื่อให้ไข่เหล่านั้นร่วงหล่นลงสู่สิ่งแวดล้อม เช่น ใต้โซฟา พรม เบาะ ที่นอน พื้นดิน เพื่อพัฒนาไปสู่ระยะต่าง ๆ ต่อไป มีเพียง 5% ของหมัดที่อยู่บนตัวสัตว์ ส่วนอีก 95% จะพบตาม สิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงมักพบการกลับมาติดหมัดซ้ำได้ง่าย
หมัดตัวอ่อนจะกินเศษผิวหนัง หรืออุจจาระของหมัดจนกว่าจะเข้าสู่ระยะดักแด้ ซึ่งสามารถอดทนรอเหยื่อ ได้นานเกือบครึ่งปีเลยทีเดียว ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้การป้องกันอย่างต่อเนื่องมีความสำคัญมาก เมื่อสภาพ แวดล้อมเหมาะสม รวมถึงดักแด้รับสัมผัสถึงแรงสั่นสะเทือนที่เข้าใจว่าเป็นเหยื่อ ก็พร้อมจะออกมา และกิน เลือดเป็นอาหารต่อไป โดยการติดหมัดสามารถเกิดได้ทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน
ปกติน้องหมาที่ติดหมัดจะมีอาการคัน ผื่นแดง ขนร่วง ซึ่งความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับแต่ละตัว หากน้องหมา แพ้น้ำลายหมัดก็สามารถเกิดโรคผิวหนังที่รุนแรงได้ โดยหมัดเหล่านี้สามารถกัดคนได้โดยบังเอิญ ซึ่งบริเวณที่ถูกกัดจะเป็นตุ่มคัน อาจมีวงกว้างหากผู้ที่ถูกกัดมีความไวต่อการระคายเคือง หรือมีผิวแพ้ง่าย